วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

ETF

EQUITY ETF คืออะไร

          Equity ETF คือ กองทุนเปิดดัชนีที่จดทะเบียน และซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เปรียบเสมือนเป็นหุ้นตัวหนึ่ง ซึ่งมีนโยบายการลงทุนโดยมุ่งเน้นให้ได้อัตราผลตอบแทนเทียบเท่าดัชนีที่ใช้อ้างอิง โดยดัชนีที่ใช้อ้างอิงของ Equity ETF แรกของไทย คือ SET 50 Index ซึ่งการที่ Equity ETF มีการลงทุนในหุ้นที่เป็นองค์ประกอบใน SET50 Index จะทำให้ผู้ลงทุนสามารถกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนได้โดยการลงทุนหน่วยลงทุน Equity ETF

Equity ETF ซื้อ ขาย อย่างไร
          การซื้อ ขาย Equity ETF จะซื้อขายผ่านบริษัทหลักทรัพย์ เหมือนหุ้นตัวหนึ่ง โดยผู้ลงทุนที่ต้องการซื้อ ขายหน่วย Equity ETF จะส่งคำสั่งซื้อ ขาย (bid และ offer) ผ่านโบรกเกอร์ที่ผู้ลงทุนเปิดบัญชี ในราคาและจำนวน (board lot) ที่ต้องการ

การซื้อ ขาย Equity ETF มีค่าใช้จ่ายการซื้อ ขาย อย่างไร
          เช่นเดียวกับการซื้อ ขายหุ้นสามัญ ค่าใช้จ่ายในการซื้อ ขาย Equity ETF ที่เรียกเก็บจาก ผู้ซื้อและผู้ขายโดยตรง คือ ค่าคอมมิชชั่น (commission fee) ในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่โบรกเกอร์ที่ ผู้ลงทุนใช้บริการในอัตรา ที่ตกลงกันไว้ พร้อมทั้งภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 เปอร์เซ็นต์ สำหรับค่าคอมมิชชันของหน่วย ลงทุน ETF นั้นจะมีเรียกเก็บในอัตรา ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 0.1 ของมูลค่าการซื้อขาย

ราคาของ Equity ETF กำหนดมาอย่างไร

ผู้ลงทุนต้องเข้าใจก่อนว่าข้อมูลทางราคาของ Equity ETF จะมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ
  1. ราคาซื้อ ขาย (trading price) คือ ราคาซื้อ (bid) และราคาขาย (offer) ที่ปรากฎอยู่บนกระดานซื้อขาย ETF ซึ่งราคานี้จะถูกกำหนดโดยความต้องการซื้อ และความต้องการขาย ของผู้ลงทุน ETF ในตลาด
  2. มูลค่าต่อหน่วย (net asset value: NAV) คือ มูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนต่อหน่วย ซึ่งคำนวณจากราคาซื้อ ขายของ หุ้นที่เป็นองค์ประกอบใน SET50 Index ณ สิ้นวันทำการ แต่สำหรับ Equity ETF แล้วบริษัทจัดการที่เป็นผู้จัดการกองทุน Equity ETF จะมีการคำนวณและรายงานมูลค่าทรัพย์สินสุทธิโดยประมาณทุกนาทีตลอดเวลาทำการซื้อขาย ซึ่งมูลค่าทรัพย์สินสุทธิโดยประมาณนี้เรียกว่า Indicative NAV (INAV)
ผลตอบแทนของการลงทุนใน Equity ETF
ผู้ลงทุนใน ETF จะมีโอกาสได้รับผลตอบแทน 2 แบบด้วยกัน
  • กำไรจากส่วนต่างของราคา (capital gain) โดยหากผู้ลงทุนที่สามารถซื้อหน่วย ETF ในราคาต่ำแล้วสามารถขายได้ในราคาสูงกว่าตอนที่ซื้อมา จะได้รับกำไรจากส่วนต่างของราคา
  • เงินปันผล (dividend) ผู้ลงทุนจะได้รับเงินปันผลจากการถือหน่วย ETF ซึ่งได้มาจากเงินปันผลของบริษัทที่เป็นองค์ประกอบของ SET50 Index โดยผู้จัดการกองทุนจะจัดสรรเงินปันผลหลังจากหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายของกองทุน
ความเสี่ยงจากการลงทุนใน Equity ETF คืออะไร
          ผู้ลงทุนใน Equity ETF มีความเสี่ยงจากปัจจัยลบที่อาจจะมีผลกระทบเชิงลบต่อระดับดัชนี SET50 ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีข่าวสารเกี่ยวกับตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจออกมาไม่ดีนัก ดัชนี SET50 อาจ ปรับตัวลดลง ส่งผลกระทบต่อราคา Equity ETF ที่ผู้ลงทุนถือไว้อาจมีราคาลดลงได้ ทำให้ผู้ลงทุนอาจขายหน่วย Equity ETF ได้ในราคาที่ต่ำกว่าตอนที่ซื้อมาตอนแรก นอกจากนี้ ผู้ลงทุนยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่เรียกว่า Tracking Error Risk ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ผลตอบแทน ของหน่วย Equity ETF ไม่เท่ากับอัตราผลตอบแทนของดัชนีได้ 100%

ต้องลงทุนขั้นต่ำเท่าไหร่สำหรับ Equity ETF
          ผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนใน Equity ETF จะมีการซื้อ ขายเป็น board lots โดยจำนวนขั้นต่ำ 1 board lot ซึ่งเท่ากับ 100 หน่วย ดังนั้น ถ้าหน่วย Equity ETF มีราคาเท่ากับ 5.50 บาท การลงทุนขั้นต่ำของผู้ลงทุนจะเท่ากับ 550 บาท เท่านั้น (โดยไม่รวมค่าธรรมเนียมการซื้อขาย)

การลงทุนในหน่วย Equity ETF ผู้ลงทุนต้องเสียภาษีอย่างไร?

          หากผู้ลงทุนรายย่อยที่ซื้อหน่วย Equity ETF ต้องการขายหน่วยลงทุนเพื่อทำกำไรจากส่วนต่างราคา อย่างเช่น ซื้อมาที่ 6.50 บาท แล้วต้องการขายที่ 6.90 บาท เพื่อทำกำไรจากส่วนต่างของราคา กำไรที่นักลงทุนได้รับส่วนนี้จะไม่ต้องเสียภาษี (เช่นเดียวกับหุ้น) แต่ถ้าผู้ลงทุนถือหน่วย Equity ETF แล้วได้รับเงินปันผล นักลงทุนจะต้องเสียภาษี โดยถูกหัก ณ ที่จ่ายร้อยละ 10 และไม่ต้องนำเงินปันผลไปคำนวณกับรายได้อื่นๆ เพื่อเสียภาษีตอนปลายปีอีก
เงินปันผลเงินได้จากการขายหน่วยลงทุน
บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายร้อยละ 10 และไม่ต้องนำไปรวมคิดภาษีเงินได้ตอนปลายปีอีกได้รับการยกเว้นภาษี
นิติบุคคลบริษัทจดทะเบียน*
ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้
รวมเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้
บริษัทจำกัด**
นำเงินปันผลเพียงครึ่งหนึ่งของที่ได้รับมาคำนวณเป็นเงินได้
รวมเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้
* , **บริษัทจดทะเบียนจะต้องถือหน่วยลงทุนไว้ 3 เดือน ก่อนและหลังได้รับเงินปันผล

ลงทุนใน Equity ETF ต่างจากลงทุนในหุ้น และกองทุนรวมดัชนีอย่างไร
          การลงทุนใน Equity ETF มีความคล้ายคลึงกับการลงทุนในหุ้น แต่ได้รับประโยชน์จากการกระจายความเสี่ยงคล้ายกับลงทุนในกองทุนรวมดัชนี (index fund) ที่เป็นกองทุนที่มีนโยบายกระจายการลงทุนในหุ้นที่อยู่ในดัชนี SET 50 โดยตารางด้านล่างได้แสดงเหมือนและความแตกต่างระหว่างการลงทุนใน Equity ETF หุ้น และหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดัชนี
ETF
หุ้น
Index Fund
ราคาซื้อ-ขายเป็นไปตามกลไกตลาด
(real time) นักลงทุน
ทราบเป็นไปตามกลไกตลาด
เป็นไปตามกลไกตลาด
(real time) นักลงทุน
ทราบเป็นไปตาม กลไกตลาด
มูลค่าต่อหน่วย (NAV) บวก ลบ ค่าธรรมเนียม
(ถ้ามี) ณ สิ้นวัน
หรือ วันทำการถัดมา
หน่วยที่ใช้
ในการซื้อ-ขาย
Board lot โดย 1 board
lot เท่ากับ ETF 100 หน่วย
Board lot โดย 1 board
lot เท่ากับ หุ้น 100 หุ้น
ไม่ระบุหน่วย แต่มีจำนวนเงิน
ลงทุนขั้นต่ำ 5,000 บาท
ช่วงเวลา
ในการซื้อ-ขาย
ตลอดช่วงการซื้อขายของ
ตลาดหลักทรัพย์
ตลอดช่วงการซื้อขายของ
ตลาดหลักทรัพย์
ซื้อ ขาย ณ ระหว่างวันทำ
การ แต่ไม่ยังทราบราคา
ในการ ซื้อ ขายหน่วยทันที
ค่าธรรมเนียม ในการซื้อ ขาย
ลูกค้า
รายย่อย
แบบขั้นบันได ตามมูลค่าการซื้อขายต่อวัน
อยู่ระหว่าง 0.20% – 0.25%
< 5 ล้าน
10ล้าน < x < 20 ล้าน
5ล้าน < x < 10 ล้าน
x > 20 ล้าน
> 0.25% - 1%
> 0.22% - 1%
> 0.18% - 1%
อัตราที่ตกลงกัน
ลูกค้า
สถาบัน
อัตราที่ตกลงกันอัตราที่ตกลงกัน
การซื้อ- ขายซื้อ ขาย ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ซื้อ ขาย ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ซื้อ ขาย คืนผ่านบริษัทจัดการฯ โดยตรง
การชำระราคาT+3T+3T+4
เงินปันผลมีมีมี
ประโยชน์จาก
การลงทุน
กระจายความเสี่ยงจาก
การลงทุนในหุ้นที่เป็น
องค์ประกอบในดัชนี SET50
มีความเสี่ยงจาก
การลงทุนในหุ้น
กระจายความเสี่ยง
จากการลงทุน
ในหุ้นที่เป็นองค์ประกอบ
ในดัชนี SET50

LTF

กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) คืออะไร

          เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่ง ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการลงทุนในตลาดหุ้นระยะยาว โดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด

LTF ให้อะไรคุณได้บ้าง 
1) ช่วยให้คุณเสียภาษีเงินได้น้อยลงจากเดิม*
2) ช่วยให้คุณมีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงจากการลงทุนในหุ้นในระยะยาว
* ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด 
          ผู้ลงทุนจะเสียภาษีน้อยลงก็ต่อเมื่อ เป็นผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน และเงินบริจาคทั้งปี สูงกว่า 80,000 บาท และมีเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข.ในปีนั้นๆ น้อยกว่า 295,000 บาท

LTF ช่วยลดภาษีอย่างไร 
          ผู้ลงทุนสามารถนำเงินลงทุนใน LTF มาหักออกจากเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายในปีนั้น ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด ซึ่งมีผลทำให้ฐานเงินได้สุทธิสำหรับการคำนวณภาษีลดลง และส่งผลให้ผู้ลงทุนเสีย ภาษีน้อยลง

          กรณีผู้ลงทุนมีฐานรายได้สูง จะยิ่งมีอัตราการประหยัดภาษีที่สูงขึ้น เนื่องจากระบบการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นแบบอัตราก้าวหน้า (ฐานเงินได้ในส่วนที่มากขึ้น จะถูกจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้นด้วย)

จำนวนเงินลงทุนใน LTF ที่สามารถนำมาหักออกจากเงินได้
ชั้นต่ำ   =   ไม่กำหนด
ขั้นสูง   =   15% ของเงินได้ทุกประเภท และ ไม่เกิน 300,000 บาท
โดยผู้ลงทุนสามารถนำเงินลงทุนใน LTF ที่จ่ายจริง ในอัตราที่กฎหมายกำหนด มาหักออกจากเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย ซึ่งจะช่วยให้คุณเสียภาษีเงินได้น้อยลง

LTF เสี่ยงหรือไม่ 
          กองทุน LTF เป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในหุ้น โดยจะมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละกองทุน ดังนั้น ผู้ที่จะลงทุนในกองทุนนี้ได้ต้องแน่ใจว่าตนเองสามารถรับความผันผวนของราคาหุ้นได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะสั้น
เงื่อนไขการลงทุนของ LTF
1) ไม่กำหนดจำนวนเงินลงทุนขั้นต่ำ
2) ลงทุนขั้นสูงในแต่ละปีภาษีไม่เกิน 15% ของเงินได้ และไม่เกิน 300,000 บาท
3) คุณสามารถนำเงินลงทุนใน LTF ที่จ่ายจริง ในอัตราที่กฎหมายกำหนด มาหักออกจากเงินได้หลังหัก
ค่าใช้จ่าย ซึ่งจะช่วยให้คุณเสียภาษีเงินได้น้อยลง
4) ถือหน่วยลงทุนเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน
5) ไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่อง ในระหว่างปีเลือกลงทุนกี่ครั้งก็ได้ และไม่จำเป็นต้องลงทุนเท่ากันในแต่
ละปี
6) เลือกขายคืนหน่วยลงทุนได้ไม่เกิน 2 วันต่อปีในแต่ละกองทุน (เฉพาะวันที่กองทุนกำหนดเท่านั้น)
7) หากขายคืนหน่วยลงทุนก่อนระยะเวลา 5 ปีปฏิทินจะต้องชำระคืนภาษีที่ได้รับลดหย่อนมาแล้ว พร้อม
ด้วยเงินเพิ่ม และต้องนำกำไร (ถ้ามี) ไปรวมกับเงินได้อื่นๆเพื่อชำระภาษีด้วย
8) ไม่ควรลงทุนในจำนวนเกินกว่าที่ได้รับสิทธิลดหย่อน (เนื่องจาก LTF ไม่เปิดให้ขายคืนได้ทุกวัน และ
ผู้ลงทุนต้องรับภาระภาษีหากขายในส่วนนี้แล้วมีกำไรไม่ว่าจะขายเมื่อใดก็ตาม)

หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข จะมีผลอย่างไร 

1) กรณีขายคืน LTF ที่ได้เคยได้รับลดหย่อนภาษีมาแล้ว และได้ถือหน่วยดังกล่าวมาน้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน จะต้องปฏิบัติดังนี้
          ต้องชำระคืนภาษีที่เคยได้รับลดหย่อนมาแล้ว โดยนำเงินค่าซื้อของหน่วยที่ขายไป มาคำนวณภาษีใหม่ พร้อมชำระเงินเพิ่ม/1 และต้องนำกำไร (ถ้ามี)ไปรวมกับเงินได้อื่นเพื่อเสียภาษี/2

2) กรณีขายคืน LTF ที่ลงทุนไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด และไม่เคยนำไปขอลดหย่อนภาษี และได้ถือหน่วยดังกล่าวมาน้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน จะต้องปฏิบัติ ดังนี้
          ต้องนำกำไร (ถ้ามี)ไปรวมกับเงินได้อื่นเพื่อเสียภาษี/2

3) กรณีขายคืน LTF ในส่วนที่ลงทุนเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด จะต้องปฏิบัติ ดังนี้
          ต้องนำกำไร (ถ้ามี)ไปรวมกับเงินได้อื่นเพื่อเสียภาษี/2

          1 เงินเพิ่ม ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตรา 1.5% ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระคืน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน) นับตั้งแต่เดือนเมษายนของปีถัดจากปีที่ลงทุน (5 ปีปฏิทินย้อนหลัง) จนถึงเดือนที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติม ทั้งนี้ เงินเพิ่มที่คำนวณได้ต้องไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระคืน

          2 ภาษีของกำไรนี้ จะต้องนำไปรวมกับเงินได้อื่นๆ ที่ได้รับในปีภาษีนั้น โดยยื่นภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ขาย


         ดังที่กล่าวไปแล้วว่า.... กองทุน LTF และกองทุน RMF เป็นกองทุนที่ใครๆ ก็พากันเรียกว่า “แฝดคู่สวยช่วยประหยัดภาษี” ซึ่งทั้งสองกองทุนนี้ มีเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ใกล้เคียงกัน จึงก่อให้เกิดความสับสนในกลุ่มผู้ลงทุน
       ตารางด้านล่างนี้น่าจะช่วยให้ผู้ลงทุนเข้าใจความแตกต่างระหว่างกองทุน LTF และกองทุน RMF ได้ดียิ่งขึ้น
          อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุน LTF และ RMF มีที่มาแตกต่างกัน สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่รัฐบาลให้มานั้น จึงไม่นำมานับรวมกัน นั่นทำให้ผู้ลงทุนสามารถที่จะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้สูงสุดถึง 1,000,000 บาทต่อปี จาก LTF 500,000 บาท และ RMF อีก 500,000 บาท เพียงแต่ผู้ถือหน่วยลงทุน
จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของแต่ละกองทุนให้ครบถ้วน จึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีนั้น

RMF

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) คืออะไร
          เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่ง ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้ผู้มีเงินได้มีเงินออมสำหรับใช้จ่ายในช่วงเกษียณอายุโดยได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษี ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด 
1) ช่วยให้คุณเสียภาษีเงินได้น้อยลงจากเดิม* 
2) ช่วยให้คุณมีวินัยในการออม เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในช่วงเกษียณอายุ 
3) เปิดโอกาสให้คุณมีอิสระที่จะเลือกการลงทุนที่เหมาะกับตัวคุณเอง 
* ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด 
          ผู้ลงทุนจะเสียภาษีน้อยลงก็ต่อเมื่อ เป็นผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อนและเงินบริจาคทั้งปี สูงกว่า 80,000 บาท และมีเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข.ในปีนั้นๆ น้อยกว่า 295,000 บาท 
RMF ช่วยลดภาษีอย่างไร 
          ผู้ลงทุนสามารถนำเงินลงทุนใน RMF มาหักออกจากเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายในปีนั้น ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด ซึ่งมีผลทำให้ฐานเงินได้สุทธิสำหรับการคำนวณภาษีลดลง และส่งผลให้ผู้ลงทุนเสียภาษีน้อยลง
          กรณีผู้ลงทุนมีฐานรายได้สูง จะยิ่งมีอัตราการประหยัดภาษีที่สูงขึ้น เนื่องจากระบบการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นแบบอัตราก้าวหน้า (ฐานเงินได้ในส่วนที่มากขึ้น จะถูกจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้นด้วย) 

จำนวนเงินลงทุนใน RMF ที่สามารถนำมาหักออกจากเงินได้
กรณีผู้ลงทุนไม่มีเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข. 
ขั้นต่ำ = 3% ของเงินได้ทุกประเภท หรือ 5,000 บาท (เลือกจำนวนที่ต่ำกว่า) 
ขั้นสูง = 15% ของเงินได้ทุกประเภท และ ไม่เกิน 300,000 บาท 

กรณีผู้ลงทุนมีเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข. 
ขั้นต่ำ = 3% ของเงินได้ทุกประเภท หรือ 5,000 บาท (เลือกจำนวนที่ต่ำกว่า) 
ขั้นสูง = 15% ของเงินได้ทุกประเภท และ เมื่อรวมเงินสะสมเข้ากองทุนสำรอง 
เลี้ยงชีพและ กบข. แล้วไม่เกิน 300,000 บาท 

RMF เสี่ยงหรือไม่ 
          RMF เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่ง ซึ่งระดมเงินจากผู้ลงทุนจำนวนมาก เพื่อนำเงินไปลงทุนในตราสารประเภทต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ นโยบาย และระดับความเสี่ยง ที่แต่ละกองทุนกำหนด เช่น กองทุนตราสารตลาดเงิน เน้นลงทุนในเงินฝากธนาคาร ตั๋วเงินคลัง ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญา ใช้เงิน พันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น ตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้น เป็นต้น กองทุนตราสารหนี้ เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ภาคเอกชน เป็นต้น กองทุนตราสารทุน เน้นลงทุนในหุ้น เป็นต้น
          ดังนั้น ความเสี่ยงในการลงทุนจึงขึ้นอยู่กับประเภทกองทุนที่ผู้ลงทุนเลือก ซึ่งผู้ลงทุนสามารถจัดสรรการลงทุนระหว่างกองทุนต่างๆในสัดส่วนที่เหมาะสมกับตนเองที่สุดได้ โดยได้รับคำแนะนำจากผู้วางแผนการลงทุนของ บลจ.ทหารไทย 

เงื่อนไขการลงทุนของ RMF
1) ลงทุนขั้นต่ำเป็นจำนวนเงินรวมกันทั้งปีเพียง 3% ของเงินได้ หรือ 5,000 บาท (เลือกจำนวนที่ต่ำกว่า) 
2) ลงทุนขั้นสูงในแต่ละปีภาษีไม่เกิน 15% ของเงินได้ และเมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข. แล้ว ไม่เกิน 300,000 บาท 
3) คุณสามารถนำเงินลงทุนใน RMF ที่จ่ายจริง ในอัตราที่กฎหมายกำหนด มาหักออกจากเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย ซึ่งจะช่วยให้คุณเสียภาษีเงินได้น้อยลง 
4) ลงทุนต่อเนื่องกัน* จนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และ อย่างน้อย 5 ปี (นับวันชนวัน และนับเฉพาะปีที่ลงทุน**) กรณีที่คุณเริ่มลงทุนครั้งแรกเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี คุณยังต้องลงทุนต่อเนื่องกัน* เป็นระยะเวลาอีกอย่างน้อย 5 ปี *** 
5) ในระหว่างปี คุณสามารถเลือกลงทุนกี่ครั้งก็ได้ และไม่จำเป็นต้องลงทุนเท่ากันในแต่ละปี 
6) ไม่ควรลงทุนในจำนวนเกินกว่าที่ได้รับสิทธิลดหย่อน (เนื่องจากต้องมีภาระภาษีเกิดขึ้นหากขายในส่วนนี้แล้วมีกำไร ไม่ว่าจะขายเมื่อใดก็ตาม) 

หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข จะมีผลอย่างไร 
1) กรณีเว้นการลงทุน 2 ปีติดต่อกัน (โดยผู้ถือหน่วยมีอายุน้อยกว่า 55 ปีบริบูรณ์ หรือลงทุนมาน้อยกว่า 5 ปีนับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก) ชำระคืนภาษี 5 ปีย้อนหลัง/1 (หากชำระคืนล่าช้า ต้องชำระภาษี พร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร/2) 
2) กรณีขายคืน RMF ที่เคยได้รับลดหย่อนภาษีมาแล้ว และผู้ถือหน่วยอายุน้อยกว่า 55 ปี บริบูรณ์ จะต้องปฏิบัติ ดังนี้
          กรณีลงทุนมาไม่น้อยกว่า 5 ปี 
ชำระคืนภาษี 5 ปีปฏิทินย้อนหลัง/1 (หากชำระคืนล่าช้า ต้องชำระภาษี พร้อมเงินเพิ่ม/2 และอาจต้องเสียเบี้ยปรับ/3 ด้วยแล้วแต่กรณี) 
          กรณีลงทุนมาน้อยกว่า 5 ปี 
ชำระคืนภาษี 5 ปีปฏิทินย้อนหลัง/1 และต้องนำกำไร(ถ้ามี)ไปรวมกับเงินได้อื่นเพื่อเสียภาษี/4 (หากชำระคืนล่าช้าต้องชำระภาษี พร้อมเงินเพิ่ม/2 และอาจต้องเสียเบี้ยปรับ/3 ด้วยแล้วแต่กรณี) 
3) กรณีในระหว่างปีผู้ลงทุนขายคืน RMF เป็นจำนวนเงินที่มากกว่าจำนวนเงินที่ได้ลงทุนไปในปีปัจจุบัน หรือขายคืนหน่วยลงทุนก่อนที่จะลงทุนในปีเดียวกันนั้น 
          กรณีลงทุนมาไม่น้อยกว่า 5 ปี 
ชำระคืนภาษี 5 ปีปฏิทินย้อนหลัง/1 (หากชำระคืนล่าช้า ต้องชำระภาษี พร้อมเงินเพิ่ม/2 และอาจต้องเสียเบี้ยปรับ/3 ด้วยแล้วแต่กรณี) 
          กรณีลงทุนมาน้อยกว่า 5 ปี 
ชำระคืนภาษี 5 ปีปฏิทินย้อนหลัง/1 และต้องนำกำไร(ถ้ามี)ไปรวมกับเงินได้อื่นเพื่อเสียภาษี/4 (หากชำระคืนล่าช้าต้องชำระภาษี พร้อมเงินเพิ่ม/2 และอาจต้องเสียเบี้ยปรับ/3 ด้วยแล้วแต่กรณี) 
4) กรณีขายคืน RMF ที่ลงทุนเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด จะต้องปฏิบัติ ดังนี้ 
ต้องนำกำไร (ถ้ามี) ไปรวมกับเงินได้อื่นเพื่อเสียภาษี/4
          1 ต้องชำระภาษีที่เคยได้รับลดหย่อนมาแล้ว โดยนับย้อนหลังตั้งแต่ปีก่อนปีที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขการลงทุน และชำระคืนภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขการลงทุน 
          2 เงินเพิ่ม ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตรา 1.5% ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระคืน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน) นับตั้งแต่เดือนเมษายนของปีถัดจากปีที่ลงทุน (5 ปีปฏิทินย้อนหลัง) จนถึงเดือนที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติม ทั้งนี้ เงินเพิ่มที่คำนวณได้ต้องไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระคืน 
          3 เบี้ยปรับตามมาตรา 22 หรือ 26 แห่งประมวลรัษฎากร 
          4 ภาษีของกำไรนี้ จะต้องนำไปรวมกับเงินได้อื่นๆที่ได้รับในปีภาษีนั้น โดยยื่นในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ขาย

6. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information Systems: OIS) หรือระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems: OAS)

ระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร  แบ่งได้เป็น 5 ประเภท คือ ระบบจัดการเอกสาร ระบบการจัดการข่าวสาร ระบบการทำงานร่วมกัน /ประชุมทางไกล ระบบการประมวลภาพ และระบบการจัดการสำนักงาน

ความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศแบบต่างๆ
          ความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศแบบต่างๆ ในองค์การ  โดยปกติแล้ว TPS จะเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานให้กับระบบสารสนเทศอื่นๆ ในขณะที่ EIS จะเป็นระบบที่รับข้อมูลจากระบบสารสนเทศในระดับที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ ในระบบสารสนเทศแต่ละประเภทอาจมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในระบบย่อยๆ กันเอง เช่น ระบบสารสนเทศฝ่ายขายกับระบบสารสนเทศฝ่ายผลิต และระบบสารสนเทศฝ่ายจัดส่งสินค้า เป็นต้น

5. ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) และระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems: ES)

ปัญญาประดิษฐ์เป็นความพยายามที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ (ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์) ให้สามารถปฏิบัติงานเหมือนกับมนุษย์หรือเลียนแบบ การทำงานของมนุษย์  AI มีหลายสาขา เช่น การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing), ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์(Robotics), ระบบการมองเห็น (Vision Systerms), ระบบการเรียนรู้(Learning Systems), เครือข่ายเส้นประสาท(Neural Networks) และระบบผู้เชี่ยวชาญ(Expert Systems)          ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) หรือระบบฐานความรู้ (Knowledge-based System) เป็นระบบที่รวบรวมและจัดเก็บความรู้และประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยในการหาข้อสรุปและคำแนะนำให้กับผู้ใช้
          ES จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนประกอบหลัก ได้แก่
(1) ส่วนติดต่อกับผู้ใช้หรือบทสนทนา เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสื่อสารกับผู้ใช้
(2) ฐานความรู้ (Knowledge-based) เป็นกลุ่มของข้อเท็จจริงหรือความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริงที่เป็นความรู้หรือความเชี่ยวชาญในระบบนั้นๆ
(3) กลไกอนุมาน หรือ Inference Engine เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ใช้สำหรับค้นหาสารสนเทศจากฐานความรู้ เพื่อให้คำตอบ การทำนายและคำแนะนำตามแนวทางที่ผู้เชี่ยวชาญกระทำ

4. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems: EIS หรือ Executive Support Systems: ESS)

       ระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้ม และการวางแผนกลยุทธ์ ผู้บริหารสามารถเข้าถึงสารสนเทศโดยกำหนดมุมมองได้ในรูปแบบต่างๆ จึงเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวสูง และรวดเร็วต่อความต้องการ ใช้งานได้ง่าย          EIS สามารถเข้าถึงสามาสนเทศจากฐานข้อมูลภายในและภายนอกองค์การและจะนำเสนอสารสนเทศที่ได้จากการวิเคราะห์ในรูปของรายงาน ตาราง และกราฟ เพื่อการสรุปสารสนเทศให้ผู้บริหารได้เข้าใจง่ายและประหยัดเวลา  

3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems: DSS)

ระบบสารสนเทศที่นำข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการตัดสินใจ และจะช่วยสนับสนุนการแก้ปัญหาและตัดสินใจเฉพาะกรณีตามที่ผู้บริหารต้องการ เป็นการเน้นการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ          ลักษณะสำคัญของ DSS คือ จะต้องเป็นระบบที่ให้สารสนเทศอย่างรวดเร็วต่อการตัดสินใจ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและกำหนดกลยุทธ์ ดังนั้น DSS จึงควรออกแบบในลักษณะที่โต้ตอบกับผู้ใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล ซึ่งผู้บริหารมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการกำหนดรูปแบบการพัฒนา DSS         ปัจจุบันได้มีการใช้เครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางออนไลน์จากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่ได้มาจากการรวบรวมข้อมูลอดีตและปัจจุบันของ TPS และข้อมูลภายนอกองค์การ เรียกว่า Online Analytical Processing หรือ OLAP สำหรับให้ผู้บริหารได้เรียกดูข้อมูลจากคลังข้อมูล (Data Warehouse) ในหลายๆมุมมองที่แตกต่างกัน


          โดยทั่วไป การตัดสินใจในการดำเนินงานขององค์การมักจะเป็นการตัดสินใจของกลุ่มผู้บริหาร  ดัง นั้นปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาของกลุ่ม เรียกระบบนี้ว่า ระบบสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจกลุ่ม (Group Decision Support System: GDSS)          GDSS เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระดมความคิด วิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาเพื่อหาแนวทางหรือรูปแบบในการตัดสินใจร่วมกันของกลุ่ม  และปัจจุบันสามารถใช้สนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่มสมาชิกที่อยู่คนละสถานที่กันได้ด้วย          นอกจาก GDSS แล้ว ยังมีระบบสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจระบบอื่นๆ อีก เช่นระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์(Geographic Information Systems : GIS)  ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งของสถานที่และเส้นทางการเดินทาง