วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

LTF

กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) คืออะไร

          เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่ง ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการลงทุนในตลาดหุ้นระยะยาว โดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด

LTF ให้อะไรคุณได้บ้าง 
1) ช่วยให้คุณเสียภาษีเงินได้น้อยลงจากเดิม*
2) ช่วยให้คุณมีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงจากการลงทุนในหุ้นในระยะยาว
* ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด 
          ผู้ลงทุนจะเสียภาษีน้อยลงก็ต่อเมื่อ เป็นผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน และเงินบริจาคทั้งปี สูงกว่า 80,000 บาท และมีเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข.ในปีนั้นๆ น้อยกว่า 295,000 บาท

LTF ช่วยลดภาษีอย่างไร 
          ผู้ลงทุนสามารถนำเงินลงทุนใน LTF มาหักออกจากเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายในปีนั้น ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด ซึ่งมีผลทำให้ฐานเงินได้สุทธิสำหรับการคำนวณภาษีลดลง และส่งผลให้ผู้ลงทุนเสีย ภาษีน้อยลง

          กรณีผู้ลงทุนมีฐานรายได้สูง จะยิ่งมีอัตราการประหยัดภาษีที่สูงขึ้น เนื่องจากระบบการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นแบบอัตราก้าวหน้า (ฐานเงินได้ในส่วนที่มากขึ้น จะถูกจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้นด้วย)

จำนวนเงินลงทุนใน LTF ที่สามารถนำมาหักออกจากเงินได้
ชั้นต่ำ   =   ไม่กำหนด
ขั้นสูง   =   15% ของเงินได้ทุกประเภท และ ไม่เกิน 300,000 บาท
โดยผู้ลงทุนสามารถนำเงินลงทุนใน LTF ที่จ่ายจริง ในอัตราที่กฎหมายกำหนด มาหักออกจากเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย ซึ่งจะช่วยให้คุณเสียภาษีเงินได้น้อยลง

LTF เสี่ยงหรือไม่ 
          กองทุน LTF เป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในหุ้น โดยจะมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละกองทุน ดังนั้น ผู้ที่จะลงทุนในกองทุนนี้ได้ต้องแน่ใจว่าตนเองสามารถรับความผันผวนของราคาหุ้นได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะสั้น
เงื่อนไขการลงทุนของ LTF
1) ไม่กำหนดจำนวนเงินลงทุนขั้นต่ำ
2) ลงทุนขั้นสูงในแต่ละปีภาษีไม่เกิน 15% ของเงินได้ และไม่เกิน 300,000 บาท
3) คุณสามารถนำเงินลงทุนใน LTF ที่จ่ายจริง ในอัตราที่กฎหมายกำหนด มาหักออกจากเงินได้หลังหัก
ค่าใช้จ่าย ซึ่งจะช่วยให้คุณเสียภาษีเงินได้น้อยลง
4) ถือหน่วยลงทุนเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน
5) ไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่อง ในระหว่างปีเลือกลงทุนกี่ครั้งก็ได้ และไม่จำเป็นต้องลงทุนเท่ากันในแต่
ละปี
6) เลือกขายคืนหน่วยลงทุนได้ไม่เกิน 2 วันต่อปีในแต่ละกองทุน (เฉพาะวันที่กองทุนกำหนดเท่านั้น)
7) หากขายคืนหน่วยลงทุนก่อนระยะเวลา 5 ปีปฏิทินจะต้องชำระคืนภาษีที่ได้รับลดหย่อนมาแล้ว พร้อม
ด้วยเงินเพิ่ม และต้องนำกำไร (ถ้ามี) ไปรวมกับเงินได้อื่นๆเพื่อชำระภาษีด้วย
8) ไม่ควรลงทุนในจำนวนเกินกว่าที่ได้รับสิทธิลดหย่อน (เนื่องจาก LTF ไม่เปิดให้ขายคืนได้ทุกวัน และ
ผู้ลงทุนต้องรับภาระภาษีหากขายในส่วนนี้แล้วมีกำไรไม่ว่าจะขายเมื่อใดก็ตาม)

หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข จะมีผลอย่างไร 

1) กรณีขายคืน LTF ที่ได้เคยได้รับลดหย่อนภาษีมาแล้ว และได้ถือหน่วยดังกล่าวมาน้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน จะต้องปฏิบัติดังนี้
          ต้องชำระคืนภาษีที่เคยได้รับลดหย่อนมาแล้ว โดยนำเงินค่าซื้อของหน่วยที่ขายไป มาคำนวณภาษีใหม่ พร้อมชำระเงินเพิ่ม/1 และต้องนำกำไร (ถ้ามี)ไปรวมกับเงินได้อื่นเพื่อเสียภาษี/2

2) กรณีขายคืน LTF ที่ลงทุนไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด และไม่เคยนำไปขอลดหย่อนภาษี และได้ถือหน่วยดังกล่าวมาน้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน จะต้องปฏิบัติ ดังนี้
          ต้องนำกำไร (ถ้ามี)ไปรวมกับเงินได้อื่นเพื่อเสียภาษี/2

3) กรณีขายคืน LTF ในส่วนที่ลงทุนเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด จะต้องปฏิบัติ ดังนี้
          ต้องนำกำไร (ถ้ามี)ไปรวมกับเงินได้อื่นเพื่อเสียภาษี/2

          1 เงินเพิ่ม ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตรา 1.5% ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระคืน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน) นับตั้งแต่เดือนเมษายนของปีถัดจากปีที่ลงทุน (5 ปีปฏิทินย้อนหลัง) จนถึงเดือนที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติม ทั้งนี้ เงินเพิ่มที่คำนวณได้ต้องไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระคืน

          2 ภาษีของกำไรนี้ จะต้องนำไปรวมกับเงินได้อื่นๆ ที่ได้รับในปีภาษีนั้น โดยยื่นภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ขาย


         ดังที่กล่าวไปแล้วว่า.... กองทุน LTF และกองทุน RMF เป็นกองทุนที่ใครๆ ก็พากันเรียกว่า “แฝดคู่สวยช่วยประหยัดภาษี” ซึ่งทั้งสองกองทุนนี้ มีเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ใกล้เคียงกัน จึงก่อให้เกิดความสับสนในกลุ่มผู้ลงทุน
       ตารางด้านล่างนี้น่าจะช่วยให้ผู้ลงทุนเข้าใจความแตกต่างระหว่างกองทุน LTF และกองทุน RMF ได้ดียิ่งขึ้น
          อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุน LTF และ RMF มีที่มาแตกต่างกัน สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่รัฐบาลให้มานั้น จึงไม่นำมานับรวมกัน นั่นทำให้ผู้ลงทุนสามารถที่จะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้สูงสุดถึง 1,000,000 บาทต่อปี จาก LTF 500,000 บาท และ RMF อีก 500,000 บาท เพียงแต่ผู้ถือหน่วยลงทุน
จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของแต่ละกองทุนให้ครบถ้วน จึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น